ถึงเวลาหรือยัง! ที่ผู้ผลิตสินค้า และผู้บริโภค ต้องร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาขยะต่างๆ โดยใช้หลักการ EPR

แน่นอนว่าไม่มีบริษัทไหนอยากได้ชื่อว่าเป็นตัวการสร้างขยะออกสู่สิ่งแวดล้อมมากที่สุด ซึ่งหลายคนโทษว่าก็เป็นเพราะพฤติกรรมการใช้ของผู้บริโภค และระบบจัดการขยะของภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพเอง จะโทษบริษัทได้อย่างไร ความจริงก็คือ บริษัทต่างๆ คือต้นทางหลักในการนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งเหล่านี้มาใช้ บริษัทยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งใช้มาก

สิ่งสำคัญที่บริษัทชั้นนำจำเป็นต้องนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์และร่วมแก้ปัญหาขยะที่เกิดจากสินค้าของตัวเองคือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility – EPR) ซึ่งโธมัส ลินด์ควิสท์ (Thomas Lindhqvist) แห่งมหาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน เป็นคนเสนอแนวคิดนี้

โดยสรุป EPR (Extended Producer Responsibility) ก็คือ หลักการที่ให้ผู้ผลิตคำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม , ผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบในการจัดการสินค้าของตัวเองหลังสินค้านั้นๆหมดอายุการใช้งาน หมายความว่า ความรับผิดชอบไม่ได้จบแค่การขายสินค้าเท่านั้น แต่ต้องคิดด้วยว่าเมื่อใช้เสร็จแล้วจะนำสินค้ากลับมาจัดการอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาการจัดการของเสียและการนำวัสดุที่ยังใช้ได้กลับมารีไซเคิล โดยนโยบายนี้ จะทำให้ผู้ผลิตจะต้องคิดให้มากขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะต้องร่วมรับผิดชอบจัดการในภายหลัง

การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หลักการ EPR จะถูกนำมาใช้ก็เมื่อมีการออกกฎหมายรองรับเพื่อบังคับให้ผู้ผลิตต้องปฏิบัติตาม โดยราวหนึ่งในสามเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก(ร้อยละ 35) รองลงมาคือบรรจุภัณฑ์ (17%) ยางรถยนต์ (17%) รถยนต์และแบตเตอรี่ (12%) และอื่นๆ เช่น น้ำมันเครื่องใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์สี สารเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่และหลอดไฟ จะเห็นว่า ผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำหนดให้ใช้หลักการหรือกฎหมาย EPR ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคสูงและมีต้นทุนการกำจัดค่อนข้างสูงด้วย

หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดของ EPR ที่มีประสิทธิภาพมากๆ ก็คือระบบการคิดค่ามัดจำ ลองนึกถึงระบบมัดจำขวดสมัย 30-40 ปีที่แล้ว สมัยก่อนขวดแก้วกินเสร็จก็ต้องรวบรวมเอาขวดมาคืนเพื่อจะได้เงินมัดจำ วิธีนี้ทำให้ผู้ผลิตสามารถนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เสร็จแล้วกลับเข้าสู่ระบบได้เกือบร้อยเปอร์เซนต์ หลักการนี้ยังใช้ได้ผล แม้จะเปลี่ยนมาเป็นขวดพลาสติกแล้วก็ตาม ในเยอรมนีที่มีระบบคิดค่ามัดจำขวดมีอัตราการรีไซเคิลขวดพลาสติกอยู่ที่ 99% เทียบกับอังกฤษที่ยังไม่มีกฎหมายมีอัตราการรีไซเคิลขวดพลาสติกอยู่ที่ 43% ในสหรัฐอเมริกา รัฐที่มีกฎหมายค่ามัดจำขวดยังสามารถประหยัดค่าเก็บและจัดการขยะมูลฝอยได้ปีละหลายร้อยล้านบาท
ลองคิดดูว่า หากผู้ผลิตมีการคิดค่ามัดจำบรรจุภัณฑ์ทุกประเภท เหมือนกับที่ครั้งหนึ่งเราต้องจ่ายค่ามัดจำขวดแก้ว ทำให้เราต้องนำขวดไปคืนที่ร้านทุกครั้งเพื่อจะได้ค่ามัดจำคืน พลาสติกจำนวนมากจะถูกนำเข้าสู่ระบบ รีไซเคิลแทนที่จะกลายเป็นขยะที่บ่อฝังกลบหรือหลุดรอดลงสู่แม่น้ำลำคลอง ออกสู่ทะเลและมหาสมุทร

ลองคิดดูว่า หากผู้ผลิต เลือกปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นแบบที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ (reuse) และส่งเสริมให้ผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าแบบเติม (refill) เลือกวัสดุที่สามารถนำกลับมาแปรรูป (recycle) ได้ 100% จะช่วยลดการสร้างขยะได้ขนาดไหน

ถึงเวลาแล้ว!! ที่บริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆ ต้องมีส่วนช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจังกว่านี้ โดยนำหลักการ EPR ไปใช้ในการออกแบบและจัดการผลิตภัณฑ์ตลอดวงจรชีวิต ไม่ใช่เพียงทำกิจกรรม CSR ฟอกเขียวไปเรื่อยๆ และโยนภาระกลับมาให้ผู้บริโภค เพราะจิตสำนึกเพียงอย่างเดียวไม่มีทางแก้วิกฤตขยะพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้นได้

ทุกภาคส่วนในสังคมไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ควรศึกษาหลักการ EPR และเครื่องมือเชิงนโยบายอื่นๆ ที่ทั่วโลกได้นำมาใช้ เรียนรู้ประสบการณ์จากต่างประเทศและออกแบบระบบ EPR ที่เหมาะสมกับประเทศไทยที่จะช่วยให้เรามุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างแท้จริง


อ้างอิง
ผลการตรวจสอบแบรนด์(Brand Audit) จากขยะพลาสติกในประเทศไทย ปี 2562
Coca-Cola is world’s biggest plastics polluter – again
CP and Coca-Cola among worst offenders for plastic pollution in Thailand based on Greenpeace report
Extended producer responsibility
EPR: The good, the bad and the ugly
History of EPR
Plastic Atlas 2019
Stakeholder Views on Extended Producer Responsibility and the Circular Economy
The Bottle Deposit Debate
เรียนรู้ประสบการณ์การจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในประเทศเยอรมนี
“ระบบความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (EPR)และระบบมัดจำคืนเงิน
(DRS)โดย สุจิตรา วาสนาดำรงดี สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

     

 

 

 

 --------------------------------------------------------

 

  

  1. คลิป1
  2. คลิป2
  3. คลิป3
  4. คลิป4
  5. Fratelli Tutti

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

  

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

15 มกราคม 2567 งานสิ่งแวดล้อมศึกษา "เลาดาโตซี ปีที่ 2" ณ โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

Fratelli Tutti ความสุขแท้แห่งสหัสวรรษที่3 (บทที่ 1-8)

บรรยายโดย คุณพ่อ ทัศนุ หัตถการกุล

 

 ตอนที่ 1

 

  ตอนที่ 2  | ตอนที่ 3  | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7 | ตอนที่ 8

 

 

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

และช่อง YOUTUBE Thomas The Apostle church Bangkok

next
prev