การกลับมาของฝูงชนอีกครั้งที่ลานหน้าวิหารนักบุญเปโตร;

พระสันตะปาปาทรงเรียกร้องให้ร่วมกันปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม

 

กรุงวาติกัน (สำนักข่าวรอยเตอร์)

 

 

ฝูงชนเริ่มกลับมารวมตัวกันที่ลานหน้าวิหารนักบุญเปโตรในวันอาทิตย์  เพื่อรับพรจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส  เมื่อทรงเสด็จมาที่หน้าต่างห้องของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 เดือน  โดยพระองค์ทรงเรียกร้องให้เป็นปีที่เราไตร่ตรองในเรื่องสิ่งแวดล้อม

  

พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงโบกพระหัตถ์ให้ฝูงชนที่มาเข้าเฝ้าที่ลานหน้าพระวิหารนักบุญเปโตร หลังสวดบทภาวนาราชินีสวรรค์ โดยไม่มีการร่วมสวดของฝูงชน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่กรุงวาติกัน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2020     (Vatican Media/Handout via REUTERS ATTENTION EDITORS-THIS IMAGE HAS BEEN SUPPLIED BY A THIRD PARTY.)

 

มีผู้คนไม่มากนักไปที่ลานหน้าพระวิหารในวันจันทร์ (25พฤษภาคม 2020) เมื่อมีการเปิดพระวิหารและลานชุมนุมอีกครั้ง หลังจากที่ปิดมานานเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโลน่า ผู้คนยังคงต้องรักษาระยะห่างและสวมหน้ากาก

พระสันตะปาปาทรงกล่าวทางอินเตอร์เน็ต จากห้องสมุดของพระองค์ โดยผู้คนที่ลานหน้าวิหารเฝ้าชมทางจอภาพขนาดใหญ่ แล้วไปรับพระพรด้วยความสงบที่หน้าต่างห้องของพระสันตะปาปา ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พระองค์ทรงอวยพร โดยไม่มีผู้คนในลานชุมนุมเลย

เมื่อวันอาทิตย์ (24พฤษภาคม 2020) เป็นวันครบรอบ 5 ปีของพระสมณสาสน์ “เลาดาโตซี”  เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเรียกร้องให้ลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล  และสนับสนุนแนวความคิดหลักทางวิทยาศาสตร์ ว่ากิจกรรมของมนุษย์มีส่วนในการทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน (Global warming)

พระองค์ทรงเรียกร้องให้คริสตชนคาทอลิกรำพึงไตร่ตรองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในช่วงเวลา 12 เดือนนับจากนี้  ว่าเราจะทำอย่างไรเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และจะทำอย่างไรที่จะช่วยบรรดาผู้ที่เดือดร้อนที่สุดจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate change)

พระองค์ทรงแสดงความยินดีกับคริสตชนคาทอลิกในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ในโอกาสวันฉลองทางศาสนาแห่งชาติ   คาทอลิกในประเทศจีนต้องเผชิญการแบ่งแยกเป็นเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษ กลายเป็นพระศาสนจักร 2 ส่วน คือ พระศาสนจักรที่ได้รับการรับรองจากรัฐ และพระศาสนจักรใต้ดินที่รัฐไม่รับรอง แต่เป็นกลุ่มที่เคารพต่อศูนย์กลางคาทอลิกที่กรุงโรม

ในปี 2018 พระสันตะสำนักและกรุงปักกิ่งได้สร้างประวัติศาสตร์โดยการร่วมกันลงนามในข้อตกลง เรื่องการแต่งตั้งพระสังฆราช (Bishops) ซึ่งหมายความว่า พระสังฆราชทุกองค์ (ของพระศาสนจักรทั้ง 2 กลุ่มในประเทศจีน )  จะยอมรับอำนาจปกครองของพระสันตะปาปา  แต่แล้วก็เกิดเหตุติดขัดขึ้น  คือ ในเดือนมิถุนายน วาติกันได้ขอให้ปักกิ่งระงับการกดดันพระสงฆ์ที่ไม่ยอมลงนามร่วมกับรัฐบาล  

เรื่องนี้ได้มีการรื้อฟื้นอีกครั้งในเดือนกันยายน ทำให้เกิดการแตกแยกของคาทอลิกในประเทศจีน และทั่วโลก และมีคำวิจารณ์ว่าพระสันตะปาปายอมอ่อนข้อให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์

 

รายงานข่าวโดย Philip Pullella          เรียบเรียงโดย Mark Potter

Our Standards: The Thomson Reuters Trust Principles.

 

 

     

 

 

 

 --------------------------------------------------------

 

  

  1. คลิป1
  2. คลิป2
  3. คลิป3
  4. คลิป4
  5. Fratelli Tutti

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

  

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

15 มกราคม 2567 งานสิ่งแวดล้อมศึกษา "เลาดาโตซี ปีที่ 2" ณ โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

Fratelli Tutti ความสุขแท้แห่งสหัสวรรษที่3 (บทที่ 1-8)

บรรยายโดย คุณพ่อ ทัศนุ หัตถการกุล

 

 ตอนที่ 1

 

  ตอนที่ 2  | ตอนที่ 3  | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7 | ตอนที่ 8

 

 

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

และช่อง YOUTUBE Thomas The Apostle church Bangkok

next
prev