สรุปพระสมณสาส์น “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si')

นครรัฐวาติกัน 18 มิถุนายน 2015 (VIS)

ภาพรวมต่อไปนี้มาจากพระสมณสาส์น“ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Encyclical Laudato si') จำนวน 191 หน้าและประเด็นสำคัญ,พร้อมกับสรุปความจาก 6 บท


("สิ่งที่เกิดขึ้นกับบ้านรวมของเรา","พระวรสารเกี่ยวกับการเนรมิตสร้าง",“รากเหง้าของมนุษย์เกี่ยวกับวิกฤตด้านระบบนิเวศ, “ระบบนิเวศที่ดี”, “แนวทางความเข้าใจและแนวทางการปฏิบัติ”,และ “การศึกษาระบบนิเวศและชีวิตจิตวิญญาณ”).พระสมณสาส์นสรุปด้วยคำภาวนาด้านศาสนสัมพันธ์เพื่อโลกของเราและคำภาวนาเพื่อการเนรมิตสร้าง

"เราต้องการให้โลกเป็นอย่างไร เพื่อมอบแก่ผู้ที่มาภายหลังเรา, แก่ลูกหลาน ที่บัดนี้ กำลังเติบโตขึ้น” (160).


คำถามนี้มีความสำคัญที่สุดในพระสมณสาส์น “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า”,พระสมณสาส์นที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประพันธ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการใส่ใจบ้านรวม


“ปัญหานี้ไม่ใช่ทำอะไรกับระบบนิเวศเพียงอย่างเดียวและแก้ปัญหาได้; เพราะเรื่องนี้ไม่อาจพิจารณาแบบแยกส่วนได้”.

เรื่องนี้ทำให้เราถามตัวเองเกี่ยวกับความหมายของการมีอยู่และคุณค่าของพื้นฐานชีวิตสังคมว่า “จุดประสงค์ของชีวิตของเราในโลกนี้เป็นเช่นไร”

- อะไรคือเป้าหมายของการทำงานและความพยายามทั้งหมดของเรา

- โลกต้องการอะไรจากเรา

ถ้าเราไม่ต่อสู้กับเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งขึ้น

สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “พ่อเชื่อว่า ความห่วงใยต่อระบบนิเวศจะเกิดผลที่สำคัญ”-พระสมณสาส์นตั้งชื่อพระสมณสาส์นจากคำอ้อนวอนของนักบุญฟรานซิส แห่งอัสซีซีที่ว่า “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” ในบทเพลงแห่งสิ่งสร้าง. เตือนเราว่า โลกซึ่งเป็นบ้านของเรา “เป็นเหมือนพี่สาวที่เราร่วมชีวิตของเราและมารดาที่สวยงามที่อ้าแขนโอบกอดเราไว้”.เราลืมว่า “เราเองเป็นฝุ่นธุลีของโลก” ยิ่งร่างกายของเราทำมาจากองค์ประกอบของโลก,เราก็ยิ่งหายใจอากาศของโลก และรับชีวิตและความสดชื่นจากสายน้ำของโลก”


บัดนี้ โลกนี้ถูกทำลายและถูกละเมิด,มันกำลังคร่ำครวญ,เสียงครางร่วมกับเสียงบ่นพร่ำร่วมกับสิ่งสร้างของโลกทั้งหมดที่ถูกทิ้งขว้าง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเชื้อเชิญเราให้ฟังสิ่งเหล่านั้น, ทรงวอนขอเราแต่ละคน-ทีละคน,ครอบครัว,ชุมชน,ชาติต่างๆและประชาคมนานาชาติ – ให้“กลับใจเรื่องระบบนิเวศ” ตามพระดำรัสของพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2.


เราได้รับเชิญให้ “เปลี่ยนทิศทาง” ด้วยการสร้างความงดงามและความรับผิดชอบของงาน “ใส่ใจบ้านรวมของเรา” ในเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงยอมรับว่า “มีความรู้สึกรับผิดชอบและความต้องการปกป้องธรรมชาติ,พร้อมกับห่วงใยมากขึ้น,ทั้งผิดหวัง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกของเรา”
เราจะพบรังสีแห่งความหวังทั่วพระสมณสาส์น,ซึ่งให้สารที่กระจ่างชัดของความหวัง, “มนุษยชาติยังสามารถทำงานร่วมกันในการสร้างบ้านรวม”.
“มนุษย์ชายหญิงยังสามารถแทรกแซงเชิงบวก” “ทุกสิ่งไม่สูญหาย,เราสามารถอยู่เหนือพวกมันเอง,คือเลือกว่าสิ่งใดถูกต้อง,และเริ่มต้นใหม่”.

 

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสกับสัตบุรุษคาทอลิก เช่นเดียวกับสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ว่า “คริสตชนมีหน้าที่ต่อธรรมชาติและพระผู้เนรมิตสร้าง,ซึ่งจำเป็นสำหรับความเชื่อของพวกเขา”.


สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเสนอ “ให้มีการเสวนากับทุกคนเกี่ยวกับบ้านรวม”.


มีการเขียนเกี่ยวกับการเสวนามากและในบทที่ 5 เป็นเครื่องมือสำหรับพูดอภิปรายและการแก้ปัญหา. ตั้งแต่เริ่มต้น พระองค์ทรงเตือน “คริสตจักรอื่นๆและประชาคมคริสต์” – และศาสนาอื่นๆด้วย-ทรงแสดงความห่วงใย และเสนอข้อไตร่ตรองที่มีคุณค่า” เกี่ยวกับหัวข้อระบบนิเวศ. แท้จริง มีการจัดทำหนังสือมาแล้ว,ปลุกเร้าด้วยการนำเสนอ “ท่านอัยกาบาร์โธโลมิวแห่งศาสนจักรสัมพันธ์”, ที่พูดขยายความถึงข้อ.8-9


ในหลายโอกาส, สมเด็จพระสันตะปาปาขอบพระทัยผู้มีความสามารถที่มีความพยายามในเรื่องนี้ – ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลและสมาคม สถาบัน. พระองค์ทรงทราบว่า “การไตร่ตรองของนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา นักเทววิทยาและพลเรือนทั้งหมด (...) สร้างความรู้เกี่ยวกับปัญหานี้แก่พระศาสนจักรมาก” พระองค์ทรงเชื้อเชิญทุกคนให้รับรู้ “การมีส่วนร่วมอย่างมากซึ่งศาสนาต่างๆ สร้างระบบนิเวศเชิงบูรณาการและพัฒนาอย่างเต็มที่ของมนุษยชาติ”.
มีการกล่าวอย่างละเอียดในข้อ 15 และแบ่งเป็น 6 บท. เริ่มด้วยการนำเสนองานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน,แล้วทบทวนพระคัมภีร์และธรรมประเพณียิว-คริสต์. รากเหง้าปัญหาในเทคโนโลยีธิปไตยและในการวิเคราะห์ความคิดที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง.


พระสมณสาส์นนำเสนอ “ระบบนิเวศเชิงบูรณาการ ซึ่งเคารพมิติต่างๆของมนุษย์และสังคมอย่างชัดเจน” ที่ไม่ได้ เชื่อมโยงกับปัญหาระบบนิเวศ. ในมุมมองนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเริ่มเสนอการเสวนาที่ซื่อสัตย์ในทุกระดับของชีวิตการเมือง,เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสร้างกระบวนการของการตัดสินใจที่โปร่งใส,และทรงเตือนว่า ไม่มีโครงการใดที่มีประสิทธิภาพ ถ้าขาดมโนธรรมที่รับผิดชอบและมีรูปแบบของการกระตุ้น. นำความคิดไปช่วยให้แนวทางนี้เติบโตในระดับเทววิทยา พระศาสนจักร จิตวิญญาณ การศึกษาและการเมือง.


สรุปพระสมณสาส์นด้วยบทภาวนา 2 บท บทแรกเพื่อทุกคนที่มีความเชื่อศรัทธาใน “พระผู้สร้าง ผู้ทรงสรรพานุภาพ” และอีกบทหนึ่งเพื่อผู้ที่ยืนยันความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า,พร้อมกับร้องขึ้นว่า “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” ซึ่งเป็นข้อความที่เริ่มและสรุปพระสมณสาส์น
หัวข้อหลักในพระสมณสาส์นกล่าวจากหลายมุมมองที่ต่างไป,การพิจารณาและรวบรวมพระสมณสาส์นเป็นหนึ่งเดียวกัน: ความสนิทสัมพันธ์ระหว่างคนยากจนกับความเปราะบางของโลก,เชื่อมั่นว่า ทุกสิ่งในโลกเชื่อมโยงกัน,การวิจารณ์กระบวนทัศน์และรูปแบบต่างๆของอำนาจใหม่ทมาจากเทคโนโลยี,เสียงเรียกร้องให้แสวงหาวิธีอื่นที่จะเข้าใจเศรษฐกิจและความก้าวหน้า,คุณค่าที่ถูกต้องกับแต่ละสิ่งสร้าง,ความหมายของมนุษย์เกี่ยวกับระบบนิเวศ,ความต้องการการโต้เถียงที่ซื่อสัตย์และเปิดเผย,ความรับผิดชอบอย่างมากเกี่ยวกับนโยบายระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ,วัฒนธรรมทิ้งขว้างสิ่งต่างๆและการนำเสนอวิถีชีวิตใหม่


บทที่ 1 – อะไรเกิดขึ้นกับบ้านของเรา (มลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ:มลพิษ การปฏิเสธและวัฒนธรรมการทิ้งขว้าง; สภาพอากาศเป็นของส่วนรวม; เรื่องน้ำ สัตว์และพืชหลากชนิดจำนวนมากสูญพันธุ์


มีการตอบสนองต่อแนวโน้มเรื่องคุณลักษณะของชีวิตมนุษย์และการล่มสลายของสังคม การขาดสมดุลของโลกที่อ่อนแรง.
บทนี้นำเสนอการค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่าเป็นวิธีฟังคำคร่ำครวญของสิ่งสร้าง “เพื่อตระหนักด้วยความเจ็บปวด, เมื่อกล้าที่จะหันไปหาสิ่งที่เกิดขึ้นต่อโลก ให้เป็นความทุกข์ส่วนตัว และดังนี้ เพื่อค้นหาสิ่งที่เราแต่ละคนสามารถทำเกี่ยวกับโลก”. ดังนี้ จึงเป็น “หลายมุมมองของวิกฤตด้านระบบนิเวศ


มลพิษและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง “สภาพอากาศคือปัญหาที่ร้ายแรงของโลก ไม่ว่าด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสำหรับการจัดสรรทรัพย์ส่วนรวม คือหนึ่งในความท้าทายหลักที่เผชิญหน้ากับมนุษยชาติในสมัยของเรา”. ถ้า “สภาพอากาศเป็นทรัพย์ส่วนรวม,เป็นของทุกคนและมีความหมายสำหรับทุกคน” เป็นผลกระทบต่อคนที่ยากจนที่สุด ขณะที่ “หลายคนครอบครองแหล่งทรัพยากรและมีอำนาจทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ดูเหมือนรู้สึกกังวลกับการแก้ปัญหาอย่างหยิบโหย่งหรือซ่อนลักษณะเชิงซ้อนต่างๆไว้”. “การไม่ตอบสนองต่อโศกนาฏกรรมที่เกิดกับพี่น้อง เหลานี้เป็นประเด็นของการสูญเสียความสำนึกรับผิดชอบต่อเพื่อนมนุษย์ที่มีต่อการวางรากฐานสังคมพลเมืองทั้งหมด”


เรื่องน้ำ: สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสอย่างชัดเจนว่า “การเข้าถึงน้ำดื่มเป็นสิทธิมนุษยชนพื้นฐานระดับสากล,เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเอาชีวิตรอด เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเป็นสภาพการใช้สิทธิมนุษย์อื่นๆด้วย”. เมื่อตัดสิทธิของคนยากจนที่จะเข้าถึงน้ำ ก็หมายถึงการปฏิเสธ “สิทธิที่จะให้ชีวิตที่ประกอบด้วยศักดิ์ศรีที่ไม่แปลกแยก”.


การสูญพันธุ์ของสัตว์และพืชหลากชนิดจำนวนมาก:

“แต่ละปี พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์หลายพันชนิดสูญพันธุ์ ซึ่งบางพันธุ์เราไม่เคยรู้จัก,เด็กๆไม่เคยเห็น เพราะมันจะสูญพันธุ์ตลอดไป” ความจริง มันไม่เพียงเป็น “ทรัพยากร” ที่ต้องถูกทำลาย,แต่มันมีคุณค่าในตัวมันเองด้วย.
ในมุมมองนี้ “เราสำนึกในบุญคุณของผู้ที่มีความพยายาม ควรแก่การยกย่อง ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิศวกร ที่อุทิศตนเพื่อหาทางแก้ปัญหาที่มนุษย์ก่อขึ้น”, เมื่อการแทรกแซงของมนุษย์ คือรับผิดชอบเรื่องการเงินและแนวคิดบริโภคนิยม, “เป็นการสร้างโลกที่มั่งคั่งของเรา ให้งดงามน้อยลง,ด้วยข้อจำกัดและทำให้เป็นสีเทา”.
การปฏิเสธเรื่องคุณลักษณะของชีวิตมนุษย์และความล่มสลายของสังคม: ในกรอบงานของจริยธรรมในเรื่องความสัมพันธ์นานาชาติ,พระสมณสาส์นชี้ถึงวิธี “หนี้ทางระบบนิเวศ”มีอยู่ในโลก,ด้วยประเทศในซีกโลกเหนือเป็นหนี้ต่อประเทศในซีกโลกใต้. ในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ,มี “ความรับผิดชอบที่ต่างกัน”,และประเทศพัฒนาแล้วต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า.


สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตระหนักถึงความแตกต่างที่ลึกซึ้งของเรื่องเหล่านี้ พระองค์ทรงแสดงผลกระทบจาก “การตอบสนองที่อ่อนแรง” อย่างมาก เมื่อเผชิญหน้ากับโศกนาฏกรรมของหลายประเทศและประชากรมากมาย, แม้ว่า ยังมีแบบอย่างดีๆ,ที่ทำให้ “อิ่มอกอิ่มใจ”ก็ตาม.


เราขาดวัฒนธรรม ความเต็มใจที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต,การผลิตและการบริโภค,ขณะที่มีความพยายาม “ที่จะสถาปนากรอบงานตามกฎหมาย ซึ่งสามารถทำให้ขอบข่ายกระจ่างชัด และมั่นใจที่จะมีการปกป้องระบบนิเวศ”.


บทที่ 2 – พระวรสารแห่งการเนรมิตสร้าง (ความเชื่อเอื้อต่อแสงสว่าง; ปรีชาญาณแห่งเอกสารด้านพระคัมภีร์ ธรรมล้ำลึกแห่งจักรวาล สาระความรู้เกี่ยวกับสิ่งสร้างในความกลมกลืนของสิ่งสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาล จุดหมายร่วมกันของทรัพย์สิน การมองดูพระเยซูเจ้า)

การเผชิญหน้ากับปัญหาที่กล่าวในบทที่แล้ว,สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเลือกเอกสารจากพระคัมภีร์,เพื่อเสนอความคิดรวบยอดที่มาจากธรรมเนียมยิว-คริสต์. พร้อมกับเรื่องนี้ พระองค์ทรงเชื่อมโยงกับ “ความรับผิดชอบมหาศาล” ของมนุษยชาติต่อสิ่งสร้าง,ความเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดระหว่างสิ่งสร้างทั้งหมดกับข้อเท็จจริงที่ว่า “สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติคือทรัพย์สินส่วนรวม,เป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งหมด จึงเป็นความรับผิดชอบของทุกคน”.


ในพระคัมภีร์ “พระเจ้าที่ทรงปลดปล่อยและทรงช่วยให้รอด เป็นพระเจ้าองค์เดียวกัน ที่ทรงเนรมิตสร้างจักรวาล,และวิธีกระทำเหล่านี้ของพระเจ้า เป็นการเชื่อมโยงอย่างสนิทและไม่อาจแยกกันได้”.


การเนรมิตสร้างมีความสำคัญสำหรับการไตร่ตรองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งสร้างอื่น และวิธีที่บาปทำให้การสร้างทั้งหมดเสียสมดุลไป “เอกสารเหล่านี้แนะนำว่า ชีวิตมนุษย์อยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ 3 แบบที่เกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิดคือ ระหว่างพระเจ้า กับผู้อื่นและกับโลกเอง. ตามพระคัมภีร์ ความสัมพันธ์ที่มีชีวิตชีวาทั้ง 3 เหล่านี้แตกร้าวหมด ทั้งภายนอกและภายในเรา การแตกแยกนี้คือบาป”.


สำหรับเรื่องนี้,แม้ “หลายครั้ง เราคริสตชนตีความข้อพระคัมภีร์อย่างไม่ถูกต้อง,บัดนี้ เราต้องทิ้งความคิดเห็นนี้อย่างจริงจัง ความเป็นตัวตนของเราที่ได้รับการสร้างตามภาพลักษณ์ของพระเจ้าและปกครองโลก มีอำนาจตัดสินสูงสุดเหนือสิ่งสร้างอื่น”. มนุษย์มีความรับผิดชอบที่จะ “เพาะปลูกและดูแล” สวนของโลก” โดยรู้ “จุดประสงค์สูงสุดของสิ่งสร้าง. ยิ่งกว่านั้น สิ่งสร้างทั้งหมดกำลังรุดหน้าไปเบื้องหน้า,พร้อมกับเราและอาศัยเรา,สู่พระเจ้าซึ่งทรงเป็นประเด็นร่วมของการมาถึงของมนุษย์”.
มนุษย์ไม่ใช่นายของจักรวาล “ไม่มีความสำคัญที่จะนำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดให้อยู่ในระดับเดียวกันและทำลายมนุษย์มีคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์และความรับผิดชอบมากมายที่ส่งผลที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ไม่ได้ทำให้โลกมีลักษณะสูงส่งของ ซึ่งจะป้องกันเราจากการทำงานเรื่องนี้ และปกป้องโลกที่มีความเปราะบาง”.

 

ในมุมมองนี้ “ทุกการกระทำที่โหดร้าย ที่มีต่อสิ่งสร้าง เป็นสิ่งที่ “ขัดแย้งกับศักดิ์ศรีของมนุษย์”.


อย่างไรก็ตาม “ความสำนึกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับสิ่งธรรมชาติอื่นๆ ยังไม่เป็นจริง ถ้าหัวใจของเรายังขาดความอ่อนโยน ความเมตตาสงสาร และความห่วงใยที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ของเรา”. เราต้องตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาล นั่นคือ “พระบิดาเจ้าทรงเรียกร้องความเป็นหนึ่งเดียวกันของจักรวาลให้เป็นจริง. โดยเราทุกคนถูกเชื่อมโยงด้วยพันธะที่มองไม่เห็นและก่อรูปแบบของครอบครัวโลกด้วยกัน,ความเป็นหนึ่งเดียวกันที่สูงส่งซึ่งเติมเต็มเราด้วยความเคารพที่ศักดิ์สิทธิ์ ความรักและความถ่อมตน


บทนี้รวมถึงหัวใจของวิวรณ์คริสตชนที่ว่า “พระเยซูเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์”พร้อมกับ “ความสัมพันธ์รักที่สัมผัสได้ที่มีต่อโลก” พระองค์ทรง “กลับคืนพระชนมชีพและได้รับพระสิริรุ่งโรจน์,และประทับอยู่ทางสิ่งสร้างโดยองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งจักรวาล”

 


บทที่ 3 –มนุษย์คือรากเหง้าแห่งวิกฤตของระบบนิเวศ (เทคโนโลยี: การสร้างสรรค์และอำนาจ; โลกาภิวัตน์แห่งกระบวนทัศน์เทคโนธิปไตย; วิกฤตและผลกระทบจากความคิดที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง; สัมพัทธนิยม; ความต้องการปกป้องเรื่องการว่าจ้างงาน;เทคโนโลยีด้านชีวภาพ).


บทนี้เป็นบทวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน, “ไม่ใช่พิจารณาแค่กลุ่มอาการเท่านั้น แต่พิจารณาสาเหตุที่ลึกซึ้งที่สุดของเหตุการณ์” ด้วยการเสวนากับวิชาปรัชญาและวิทยาศาสตร์ในเรื่องมนุษย์.


การไตร่ตรองเกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นการมุ่งเน้นตอนเริ่มบทนี้: ยอมรับการมีส่วนร่วมที่ดีต่อการปรับปรุงสภาพการดำเนินชีวิตอย่างรู้คุณ. อย่างไรก็ตาม การไตร่ตรองด้วยความรู้เกี่ยวกับ “มนุษย์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพย์สินทางเศรษฐกิจที่ใช้สิ่งเหล่านั้น, การครอบครองมนุษยชาติและโลกทั้งหมดอย่างรุนแรง”. เป็นความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับการครอบครองด้านเทคโนโลยีธิปไตยที่นำไปสู่การทำลายธรรมชาติผู้คนและประชากรซึ่งถูกทำลายง่ายอยู่แล้ว. “กระบวนทัศน์ด้านเทคโนโลยีธิปไตยโน้มเอียงไปสู่การครอบงำชีวิทางการเมืองและชีวิตทางเศรษฐกิจ”, เราไม่อาจยอมรับว่า “การตลาดเองไม่รับประกันการพัฒนามนุษย์และการรวบรวมสังคมเข้าด้วยกัน”.


“เรากำหนดความทันสมัยด้วยแนวคิดของมานุษยวิทยาเชิงรวมศูนย์”:มนุษย์ไม่ยอมรับจุดยืนที่ถูกต้องที่ต้องเคารพโลกอีกต่อไป แต่กลับไปสู่จุดยืนที่เน้นตนเองเป็นศูนย์กลาง,โดยมุ่งตัวมนุษย์เท่านั้น. ผลของการกระทำนี้อยู่ในตรรกะ “การใช้และทิ้งขว้าง” ที่ใช้ในการตัดสินขยะทุกรูปแบบ,สิ่งแวดล้อมหรือมนุษย์,ที่กระทำในรูปแบบอื่นๆ และเห็นธรรมชาติเป็นเพียงวัตถุที่ต่ำต้อยเท่านั้น และสร้างรูปแบบต่างๆของการครอบครองขึ้น ด้วยการบังคับคนอื่นให้เป็นทาส และประเมินสมรรถนะของการตลาดสูงเกินไป จนควบคุมมนุษย์ไว้, ด้วยวิธีการค้ามนุษย์,การขายและทารุณสัตว์ ทำให้สัตว์สูญพันธุ์ และเกี่ยวกับ “เพชรเลือด. เป็นความรู้สึกนึกคิดเดิมที่เป็นมาเฟีย (กลุ่มคนที่ทำงานในองค์การลับ),เกี่ยวกับคนที่ขายอวัยวะอย่างผิดกฎหมาย และการค้ายาเสพติด และการทำแท้งเพราะทารกไม่ตอบสนองต่อสิ่งที่บิดามารดาต้องการได้)
+
ในแง่นี้, พระสมณสาส์นกล่าวถึงปัญหาที่มีความสำคัญของโลกในปัจจุบัน มากกว่าปัญหาอื่นใด คือการ “เข้าถึงระบบนิเวศเชิงบูรณาการ,ซึ่งรวมมนุษย์ด้วย,ต้องถือเป็นเรื่องของคุณค่าของแรงงาน”,เพราะ “การหยุดลงทุนในผู้คน,เพื่อได้รับสิ่งตอบแทนด้านการเงินระยะสั้นมากขึ้น,เป็นธุรกรรมที่ชั่วร้ายสำหรับสังคม”.


ปัญหาที่สอง คือข้อจำกัดของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์,พร้อมข้ออ้างอิงที่ชัดเจนในการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs-สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering). ว่า “การใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ของพวกเขา ก่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาในบางภูมิภาคก็ตาม,ยังมีความยุ่งยากมากมายที่ไม่ควรมองข้าม" ,เริ่มต้นจากการ "เน้นที่ดินที่เพิ่มผลผลิต ซึ่งตกอยู่ในมือของเจ้าของที่ดินไม่กี่ราย”. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงคำนึงถึงผู้ผลิตรายย่อยและผู้ใช้แรงงานในชนบท,เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ,และเครือข่ายของระบบนิเวศ. ดังนั้น จึง"เกิดการโต้แย้งทางสังคม ทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องมีความรับผิดชอบอย่างกว้างขวาง, เราสามารถพิจารณาข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด และเรียกสิ่งต่างๆตามชื่อ" เริ่มต้นจาก "งานวิจัยสาขาวิชาต่างๆที่เป็นอิสระและมีลักษณะสหวิทยาการ"

 

บทที่ 4 – ระบบนิเวศเชิงบูรณาการ (ด้านสิ่งแวดล้อม,ระบบนิเวศทางเศรษฐกิจและสังคม,ระบบนิเวศเชิงวัฒนธรรม, ระบบนิเวศในชีวิตประจำวัน,หลักการของความดีส่วนรวม; ความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นต่างๆ)


พระสมณสาส์นทรงนำเสนอสิ่งที่มีความสำคัญมาก คือระบบนิเวศเชิงบูรณาการ เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ของความยุติธรรม;ระบบนิเวศ "ซึ่งเคารพตำแหน่งที่มีเอกลักษณ์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้และความสัมพันธ์ของเราที่มีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา" .ตามความเป็นจริง, โดย "ไม่ถือว่า ธรรมชาติเป็นสิ่งที่แยกออกจากเราเอง หรือลักษณะที่เป็นเพียงสถานที่ที่เราอาศัยอยู่". นี่คือความจริงที่เรามีส่วนร่วมในสาขาวิชาต่างๆ: ด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง,วัฒนธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ถูกคุกคามมากที่สุด,และในทุกช่วงเวลาของชีวิตประจำวันของเรา.


มุมมองเชิงบูรณาการยังนำเข้าสู่ระบบนิเวศของสถาบันต่างๆที่มีบทบาทในเรื่องนี้ "ถ้าทุกสิ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันแล้ว,สุขภาพของสถาบันของสังคม จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตมนุษย์. "ทุกการละเมิดต่อความเป็นปึกแผ่นและมิตรภาพของพลเมืองทุกคนเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม"


สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนยันพระดำริของพระองค์ ด้วยตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมากมายว่า "การวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากการวิเคราะห์บริบทด้านมนุษย์ ด้านเมืองใหญ่,งานที่เกี่ยวข้อง,ครอบครัว,และวิธีที่ปัจเจกชนเกี่ยวข้องกับบริบท”. เราไม่เผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์ 2 ประการที่ถูกพิจารณาแยกกัน ว่าเป็นวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และวิกฤตด้านสังคม, แต่วิกฤตการณ์ที่ซับซ้อนเป็นได้ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม”.


ระบบนิเวศด้านมนุษย์แยกไม่ได้จากความเห็นเกี่ยวกับความดีส่วนร่วม", แต่จะเข้าใจด้วยวิธีการที่เป็นรูปธรรมในบริบทปัจจุบัน,ที่ "ความอยุติธรรมสุดโต่ง และประชาชนมากมายถูกลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน", ส่วนการผูกมัดตนเองกับความดีส่วนรวม หมายถึง การหาทางเลือกในเรื่องความเป็นปึกแผ่น ที่ขึ้นอยู่กับ "ตัวเลือกพิเศษสำหรับคนยากจนที่สุดของบรรดาพี่น้องของเรา". นี่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะมอบโลกที่ยั่งยืนสำหรับชนรุ่นอนาคต,ไม่ใช่เพียงแต่ประกาศด้วยคำพูด, แต่ด้วยการผูกมัดตนที่จะดูแลคนยากจนในปัจจุบัน, ซึ่งพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงเน้นย้ำว่า "นอกจากความรู้สึกที่ชอบธรรม ของความสามัคคีระหว่างชนรุ่นต่างๆแล้ว ยังต้องการศีลธรรมที่เร่งด่วน เพื่อสร้างความหมายที่ได้รับการฟื้นฟูของ “ความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนรุ่นต่างๆด้วย”.


ระบบนิเวศที่บูรณาการยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน.พระพระสมณสาส์นทรงสนพระทัยเป็นพิเศษกับสิ่งแวดล้อมของเมือง. มนุษย์มีสมรรถนะที่ดีเพื่อปรับใช้ เพราะ “บุคคลจะแสดงความคิดสร้างสรรค์ที่น่าชื่นชมและความเอื้ออาทร ที่บุคคลและกลุ่มตอบสนองต่อข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อม โดยการบรรเทาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมของพวกเขาและการเรียนรู้ ที่จะดำเนินชีวิตที่เกิดผลท่ามกลางการขาดระเบียบและความไม่แน่นอน". อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่แท้จริง คาดว่าจะมีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตเชิงบูรณาการของมนุษย์: พื้นที่สาธารณะ, ที่อยู่อาศัย, การขนส่ง เป็นต้น


นอกจากนี้ "การยอมรับว่า ร่างกายของเราเป็นของขวัญของพระเจ้า ที่ควรต้อนรับและยอมรับโลกทั้งหมดว่าเป็นของขวัญจากพระบิดาเจ้าและเป็นบ้านรวมของเรา,ในขณะที่เราชื่นชอบกับอำนาจสูงสุด ที่อยู่เหนือร่างกายของเราเอง, บ่อยครั้ง กลับคิดว่า เราชื่นชอบกับอำนาจสูงสุดเหนือสิ่งสร้าง”.


บทที่ 5 – เส้นระดับของความเข้าใจและการกระทำ (การเสวนาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม;ในชุมชนระหว่างประเทศ; การเสวนาสำหรับนโยบายท้องถิ่นและระดับชาติ การเสวนาและความโปร่งใสในการตัดสินใจ;การเมืองและเศรษฐกิจ; การเสวนาระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการเสวนาเพื่อทำให้มนุษย์สมบูรณ์) .


บทนี้กล่าวถึงปัญหาที่เราสามารถดำเนินการและจะต้องดำเนินการ. การวิเคราะห์ต่างๆไม่เพียงพอ:เราต้องการมีข้อเสนอ "ให้มีการเสวนาและการลงมือดำเนินการในสิ่งเกี่ยวข้องกับเราแต่ละคน ไม่น้อยกว่าดำเนินนโยบายต่างประเทศ".
พวกเขาจะ "ช่วยให้เราหนีภัยที่กำลังวนเวียนมาทำลายตนเองทุกที ซึ่งขณะนี้โอบล้อมเราอยู่" สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมุ่งมั่นว่า การพัฒนาความเข้าใจที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องที่กระทำด้วยอุดมการณ์ที่เลื่อนลอยหรือลดทอนอุดมการณ์ลง. สำหรับเรื่องนี้,การเสวนาเป็นสิ่งจำเป็น,


"มีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ง่ายที่จะบรรลุฉันทามติในวงกว้าง [... ] พระศาสนจักรไม่ได้มุ่งตั้งคำถามด้านวิทยาศาสตร์ หรือเข้าไปแทนที่การเมือง. แต่ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะส่งเสริมการอภิปรายที่เปิดกว้างและซื่อสัตย์,เพื่อว่า ความสนใจหรืออุดมการณ์เฉพาะจะไม่กระทบกระเทือนต่อความดีส่วนร่วม "

ตามความคิดพื้นฐานนี้, สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสไม่ทรงกลัวที่จะตัดสินการเปลี่ยนแปลงระดับโลกอย่างจริงจังว่า "เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีการประชุมสุดยอดระดับโลกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลวต่อการดำเนินชีวิตที่คาดหวังไว้,เพราะเป็นการประชุมที่ขาดเจตจำนงทางการเมือง,พวกเขาไม่สามารถที่จะเข้าถึงข้อตกลงระดับโลก ที่ควรมีความหมายและมีประสิทธิภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม" และพระองค์ตรัสถามว่า "สิ่งใดจูงใจพวกท่านในเวทีนี้, ทำให้คิดถึงความไม่สามารถของผู้นำ (ในการประชุมครั้งนั้น) ที่จะดำเนินการ เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำ?" แต่สิ่งที่จำเป็นตามที่พระสันตะปาปาตรัสหลายครั้งแล้ว,ที่เริ่มด้วยพระสมณสาส์นชื่อ”สันติสุข ณ แผ่นดิน” (ของสมเด็จพระสันตะปปาปายอห์นที่ 23- Pacem in Terris) เป็นรูปแบบและเครื่องมือในการสร้างธรรมาภิบาลระดับโลก ที่เรียกว่า "สิ่งที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก” ,เห็นได้ว่า เราไม่อาจมั่นใจว่า จะปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ตามพื้นฐานการเก็งราคาและผลประโยชน์. สิ่งแวดล้อมเป็นทรัพย์ประเภทหนึ่งในทรัพย์ทั้งหลาย ที่กลไกตลาดไม่อาจปกป้องหรือส่งเสริมอย่างเพียงพอได้ " (190 บทสรุปของคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร).

ในบทที่ 5 นี้,สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนกรานถึงการพัฒนากระบวนการตัดสินใจที่ซื่อสัตย์และโปร่งใส,เพื่อที่จะ "พิเคราะห์แยกแยะ" นโยบายและการริเริ่มธุรกรรมใดที่สามารถก่อให้เกิด "การพัฒนาเชิงบูรณาการที่แท้จริง" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมของ "การลงทุนทางธุรกิจแบบใหม่และทำโครงการที่ต้องการกระบวนการทางการเมืองที่โปร่งใส ที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างอิสระ.


อีกแง่หนึ่ง รูปแบบต่างๆของการทุจริตที่ซ่อนผลกระทบที่แท้จริงต่อสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นโครงการที่จัดทำเพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งตอบแทน มักจะนำไปสู่ข้อตกลงที่หลอกลวง ซึ่งไม่อาจแจกแจงได้อย่างเพียงพอ และไม่ปล่อยให้มีการอภิปรายอย่างเต็มที่ "
การเรียกร้องที่สำคัญที่สุดที่ส่งผลไปยังผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อว่าพวกเขาจะหลีกเลี่ยง "ความคิดเกี่ยวกับ "ประสิทธิผล" และ "ความฉับไว” " ที่พบกันบ่อยครั้งในปัจจุบันนี้" แต่ถ้าพวกเขากล้า,พวกเขาจะยืนยันถึงศักดิ์ศรีที่พระเจ้าประทานแก่พวกเขา และเป็นพยานถึงความรับผิดชอบที่ไม่เห็นแก่ตัวไว้"

บทที่หก - การศึกษาด้านระบบนิเวศและชีวิตจิตวิญญาณ (มุ่งสู่วิถีชีวิตแบบใหม่;การให้ความรู้เกี่ยวกับพันธสัญญาระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม; การกลับใจด้านระบบนิเวศ; ความสุขและสันติสุข; ความรักต่อบ้านเมืองและความรักทางการเมือง;สัญลักษณ์ด้านศีลศักดิ์สิทธิ์และการเฉลิมฉลองของเรื่องอื่นๆ;พระตรีเอกภาพและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสร้าง;พระราชินีแห่งสิ่งสร้างทั้งหมด,นอกเหนือจากดวงอาทิตย์)

บทสุดท้าย ขอเชิญชวนทุกคนให้สนใจต่อหัวใจของการกลับใจด้านระบบนิเวศ. รากเหง้าของวิกฤตทางวัฒนธรรมที่ลึกล้ำ,และไม่ใช่ง่ายที่จะช่วยพัฒนานิสัยและพฤติกรรม.การศึกษาและการฝึกอบรมมีความท้าทายที่สำคัญ "เป็นไปไม่ได้ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสร้างแรงจูงใจและกระบวนของการศึกษา" (15). ทุกภาคการศึกษาต้องมีส่วนร่วม,ทั้ง"ที่โรงเรียน,ในครอบครัว,ทางสื่อสารมวลชน,ในการสอนคำสอนและอื่น ๆ "

จุดเริ่มต้นคือ "การมุ่งสู่วิถีชีวิตแบบใหม่", ซึ่งยังเปิดสู่ความเป็นไปได้ในการ "นำความกดดันด้านสุขภาพ ที่จะทนรับกับผู้มีอำนาจด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคม" นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อทางเลือกของผู้บริโภคสามารถที่จะ "เปลี่ยนวิธีทำธุรกรรม,ที่บังคับให้พวกเขาพิจารณารอยเท้าทางนิเวศน์และแบบแผนของการผลิต"


เราไม่อาจประเมินความสำคัญของการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมต่ำเกินไป. เพราะสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและความคุ้นชินประจำวัน,การลดการบริโภคน้ำ,การแยกประเภทขยะ และแม้กระทั่ง "ปิดไฟที่ไม่จำเป็น": "ระบบนิเวศเชิงบูรณาการมาจากการดำเนินชีวิตเรียบง่าย ที่ต่างจากการใช้ความรุนแรง,การเอาเปรียบและความเห็นแก่ตัว".


ทุกสิ่งจะเริ่มง่ายขึ้น ถ้าเรามีทัศนคติที่พิศเพ่งจากความเชื่อ :”เยี่ยงผู้มีความเชื่อ, นั่นคือ เราไม่ได้มองโลกจากภายนอก แต่มองจากภายใน (จิตใจ),สำนึกในพันธะที่มีต่อสิ่งที่พระบิดาเจ้าทรงเชื่อมโยงเรากับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด.พระเจ้าประทานสมรรถนะแห่งการพัฒนาปัจเจกภาพของเรา,การกลับใจด้านระบบนิเวศ เราจึงจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความกระตือรือร้นมากขึ้น"


ขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงเสนอพระสมณสาส์น “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Gaudium) "เราจะมีความสุขุมคัมภีรภาพ ต่อเมื่อเราดำเนินชีวิตอย่างอิสระและมีจิตสำนึก, และ "ความสุขหมายถึงการรู้ถึงวิธีจำกัดความต้องการ ที่มีแต่ทำลายตัวเรา,และการเปิดรับความเป็นไปได้ต่างๆ ที่ชีวิตสามารถยื่นให้เราได้". ด้วยวิธีนี้ "เราจะต้องฟื้นความเชื่อมั่นว่า เราต้องการกันและกัน,ซึ่งเราต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันสำหรับคนอื่น และโลก,ซึ่งต้องมีสภาพดีและทรงค่า”


มีนักบุญหลายองค์ที่ร่วมในการเดินทางนี้กับเรา. อาทิเช่น นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี ได้กล่าวหลายครั้งว่า "แบบอย่างที่ดีเลิศ คือการใส่ใจผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง ระบบนิเวศที่สมบูรณ์ จะทำให้เราร่าเริงและเป็นสุขแท้”. ท่านนักบุญเป็นต้นแบบของ "พันธะที่แยกไม่ออกระหว่างความห่วงใยต่อธรรมชาติ,ความยุติธรรมสำหรับคนยากจน, ความมุ่งมั่นต่อสังคมและความสุขใจ" พระสมณสาส์นยังอ้างถึงนักบุญเบเนดิกต์,นักบุญเทเรซาแห่งลิซีเออและบุญราศีชาร์ลส์ เดอ ฟูโกลด์


ส่วนพระสมณสาส์นชื่อ ‘จงสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า’(Laudato si’),เป็นแบบฝึกปกติของการสำรวจมโนธรรม,ซึ่งเป็นวิธีการที่พระศาสนจักรมักจะแนะนำ ให้ปรับชีวิตของเราในแง่ของความสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้า, ควรรวมถึงมิติใหม่ที่จะพิจารณาว่า ไม่ใช่เป็นเพียงวิธีที่เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเท่านั้น แต่ต้องเป็นหนึ่งเดียวกับผู้อื่นและกับตนเอง รวมทั้งสิ่งสร้างทั้งมวลและกับธรรมชาติด้วย.

ข้อความเต็มของพระสมณสาส์นภาษาอังกฤษสามารถดูเพิ่มเติมที่:
http://w2.vatican.va/content/francesco/en/encyclicals/documents/papa-francesco_20150524_enciclica-laudato-si.html.


ที่มา แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

 

     

 

 

 

 --------------------------------------------------------

 

  

  1. คลิป1
  2. คลิป2
  3. คลิป3
  4. คลิป4
  5. Fratelli Tutti

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

  

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

 

15 มกราคม 2567 งานสิ่งแวดล้อมศึกษา "เลาดาโตซี ปีที่ 2" ณ โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

 

  

ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

Fratelli Tutti ความสุขแท้แห่งสหัสวรรษที่3 (บทที่ 1-8)

บรรยายโดย คุณพ่อ ทัศนุ หัตถการกุล

 

 ตอนที่ 1

 

  ตอนที่ 2  | ตอนที่ 3  | ตอนที่ 4 | ตอนที่ 5 | ตอนที่ 6 | ตอนที่ 7 | ตอนที่ 8

 

 

 ดูเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมได้ที่ช่อง YOUTUBE  caritas bangkok

และช่อง YOUTUBE Thomas The Apostle church Bangkok

next
prev